หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าและบริการ
ผลงานการติดตั้ง
ข่าวสาร
ติดต่อเรา
Home
ข่าวสาร
Kitti-aluminium
Home
กระจก-อลูมิเนียม
บานเลื่อน-บานสวิง
กระจกบานเปลือย
กระจกนิรภัย-ประตูอัตโนมัติ
ฝ้า-เพดาน
ผลงานการติดตั้ง
ผลงานการติดตั้ง 1
ผลงานการติดตั้ง 2
สอบถามเพื่มเติม
kitti-aluminum.blogspot
ติดต่อเรา
AddThis
เรื่องของกระจกนิรภัย
?
..<-เหตุใดกระจกนิรภัยเทมเปอร์จึงแข็งกว่ากระจกธรรมดา->..
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กระจกอบ เป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคมจึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า
ความแข็งที่เพิ่มขึ้นของกระจกเทมเปอร์เกิดจากกระบวนการผลิต โดยการอบแผ่นกระจกด้วยความร้อนสูงและใช้ลมเป่าให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บริเวณเนื้อกระจกภายนอกเย็นตัวเร็วกว่าเนื้อในของกระจก ขณะที่เนื้อกระจกภายนอกเย็นตัวแล้ว เนื้อในของกระจกที่ค่อย ๆ เย็นจะเกิดความเค้นขึ้นส่งผลให้กระจกเทมเปอร์มีความแข็งเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วกระจกเทมเปอร์สามารถทนแรงกดได้ถึงระดับ 24000 ปอนด์/นิ้ว2 ส่วนกระจกธรรมดาสามารถทนแรงกดได้เพียง 6000 ปอนด์/นิ้ว2 แต่การใช้กระจกเทมเปอร์ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือ ในกรณีกระจกถูกกระแทกจนร้าวแต่ไม่แตกนั้น รอยร้าวบนกระจกจะเกิดกระจายทั่วทั้งแผ่น ซึ่งถ้าหากว่าใช้กระจกเทมเปอร์เป็นกระจกนิรภัยในรถยนต์แล้วจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการมองของผู้ขับรถ
..<-
กระจกนิรภัยหลายชั้นแตกต่างจากกระจกนิรภัยเทมเปอร์อย่างไร->..
กระจกนิรภัยหลายชั้นหรือกระจกลามิเนต ชื่อก็บ่งบอกแล้วว่าเป็นกระจกนิรภัยที่มีชั้นกระจกมากกว่า 1 ชั้น ซึ่งอาจจะเป็น 2 ชั้น 3 ชั้นหรือมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน กระจกนิรภัยหลายชั้นมีลักษณะการแตกที่ไม่เหมือนกับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ขณะที่กระจกนิรภัยเทมเปอร์แตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ ไม่มีคม กระจกนิรภัยหลายชั้นจะแตกในลักษณะที่เป็นรอยร้าวคล้ายใยแมงมุม เศษกระจกไม่ค่อยร่วงหรือหลุดออกมาเนื่องจากถูกยึดติดกับแผ่นฟิล์มพลาสติกที่ คั่นระหว่างแผ่นกระจก
กระจกนิรภัยหลายชั้นผลิตจากกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปนำมาประกบติดกันด้วยพลาสติกโพลีไวนิลบิวทีรอล (polyvinyl butyral-PVB) ที่หนาเพียง 0.76 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่พีวีบีมีสมบัติในเรื่องความเหนียวและเป็นกาวที่แข็งแรง ทำหน้าที่ยึดแผ่นกระจกทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นเวลากระจกแตกเศษจึงแทบไม่หลุดหรือหลุดออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กระจกนิรภัยชนิดนี้ให้ความปลอดภัยสูง จึงนิยมใช้เป็นกระจกบังลมหน้ารถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น รถโดยสารประจำทาง หลังคากระจก นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคนิคการยึดติดกระจกด้วยฟิล์มพีวีบีมาใช้ผลิตกระจกกัน กระสุนด้วย โดยการเพิ่มจำนวนชั้นของกระจกและเพิ่มความหนาของชั้นฟิล์มพีวีบีให้มากขึ้น
หมายเหตุ กระจกนิรภัยหลายชั้นสามารถใช้หรือไม่ใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ในการผลิตก็ได้
ที่มา : www.mtec.or.th